มุมสุขภาพ
 
 

+ กินช็อกโกแลตต้านโรค

 
 
  • ตอนนี้ MUFA (Monounsaturated Fatty Acid) หรือกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว กลายเป็นคำฮิตติดปากของหมอโรคหัวใจกันไปแล้ว กรดไขมันชนิดนี้พบมากในน้ำมันมะกอก ลูกมะกอก อัลมอนด์ อโวคาโด และสิ่งที่ทุกคนต้องชอบก็คือ ในดาร์กช็อกโกแลต จากการวิจัยพบว่า อาหารที่อุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว จะช่วยลดคอเลสเทอรอลไม่ดีได้ถึง 15% ดาร์กช็อกโกแลตจะให้ประโยชน์กับร่างกายสูงสุดก็ต่อเมื่อบริโภควันละสองชิ้นเล็กๆ เท่านั้น อย่ากินมากเกินกว่านั้น จากการศึกษาของ Archives of Internal Medicine พบว่า ผู้หญิงสูงอายุที่กินช็อกโกแลตอาทิตย์ละครั้ง จะลดอาการเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ถึง 35% เลยทีเดียว

 

 
 

+ จามบ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรคไหมนะ

 
 

หากคุณไม่ได้เป็นหวัด แต่จามบ่อยๆ คุณอาจจะเป็นเพราะภูมิแพ้ ซึ่งอาจจะเป็นการแพ้สัตว์เลี้ยง เชื้อรา หรือไรฝุ่นที่อาศัยอยู่ในที่นอนและผ้าม่าน ลองพยายามจดบันทึกรายละเอียดของอาการที่เกิด รวมถึงเวลาและสถานที่เกิดไว้เป็นประจำ เพื่อวิเคราะห์ถึงตัวกระตุ้นของอาการ หากคุณจามทันทีที่ตื่นนอนในตอนเช้า ก็น่าจะเป็นเพราะไรฝุ่น ซึ่งแก้ไขได้โดยการซักผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน และปลอกหมอนด้วยน้ำร้อน เช็ดทำความสะอาดบ้านและเครื่องเรือนต่างๆ ด้วยผ้าชุบน้ำ แทนที่จะแค่กวาดหรือปัดฝุ่น หรือดูดฝุ่นเป็นประจำ แต่ถ้าคุณยังจามอย่างต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือหากอาการที่เกิดรบกวนการดำเนินชีวิตตามปกติของคุณ แพทย์จะช่วยวินิจฉัยว่ามีสาเหตุอื่นแอบแฝงหรือไม่ และสั่งยาพ่นสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบที่อาจมี

 
 

+ ปัสสาวะสีเหลืองเข้มผิดปกติไหม

 
 

ถึงแม้ในสภาวะที่ร่างกายคุณเป็นปกติ ปัสสาวะก็อาจมีสีแตกต่างกันไปได้ขึ้นกับสิ่งที่คุณรับประทาน ยกตัวอย่างเช่น บีตรูตหรือบลูเบอร์รี่อาจทำให้มันเปลี่ยนเป็นสีชมพูได้ วิตามินบีเสริมจะทำให้ปัสสาวะเป็นสีเหลืองสด แต่ปัสสาวะสีเหลืองเข้มก็อาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอได้เช่นกัน ลองดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้เจือจาง หรือชาสมุนไพรมากๆ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น ปัสสาวะคุณก็ควรจะกลับมาเป็นสีเหลืองอ่อนตามปกติ

แต่หากปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้มหรือมีเลือดปนอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซึ่งต้องได้รับยาต้านจุลชีพเพื่อรักษา หรืออาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือนิ่วก็ได้ ถึงจะพบน้อยมากแต่ก็อย่าประมาทเป็นดีที่สุด 



 

+ มารู้จักไขมันกันเถอะ

 
 

แบคทีเรียชนิดที่มีในร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่จะไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย แต่สำหรับแบคทีเรียที่มีชื่อว่า อีโคไล หรือ Escherichia ซึ่งพบได้ในลำไล้ของมนุษย์และสัตว์ สามารถทำให้เกิดโรคหรืออาการต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และอาการท้องร่วง เป็นต้น แบคทีเรียชนิด อีโคไลจะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะในมูลสัตว์ หลังจากที่โลกพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ระบาดในประเทศอังกฤษ วันนี้ขออัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้มาให้ได้รู้จักกันเพื่อเป็นการป้องกันและรับมือหากได้รับเชื้อชนิดนี้

เชื้ออีโคไลแพร่สู่คนได้อย่างไร
เชื้อแบคทีเรียอีโคไลจะแพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ

การระบาดของเชื้ออีโคไล
การแพร่ระบาดของเชื้อ อีโคไลเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี  2539-2540

 อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล
จะพบอาการแต่เริ่ม ท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ

ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล
ระยะฟักตัวของเชื้อ อยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย

ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไลได้ง่าย
เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป

การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

+ อย่าระแวงการกินไข่เกินไป

 
 

อาหารจำพวกไข่ ตับ และกุ้ง มีคอเลสเทอรอลก็จริง แต่แทบไม่ส่งผลต่อระดับคอเลสเทอรอลในเลือดเลย แม้พวกเรากว่าร้อยละ 45 ยังเชื่อว่าต้องจำกัดปริมาณการบริโภคไข่เมื่อมีวัยที่เพิ่มขึ้น แต่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์กลับบ่งชี้ว่าเราสามารถรับประทานไข่ได้มากเท่าที่ต้องการ แถมมูลนิธิโรคหัวใจของอังกฤษยังเลิกคำแนะนำให้จำกัดปริมาณไข่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แล้ว ไข่และกุ้งอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้นอย่ากลัวไปเลย ขอแค่ไม่ทอดมันด้วยเนยก็โอเคแล้ว


 

 


 
 
 

Copyright © นิตยสารคู่หูเดินทาง / MJ Media Company Limited