คู่หูเดินทาง
  • หน้าแรก
  • พาเที่ยว
  • พักแรม
  • พาชิม
  • คู่หูดูดวง
  • LifeStlyle
    • มุมสุขภาพ
    • รอบรู้รอบโลก
    • เคล็ดลับความงาม
  • ยานยนต์
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา
  • DOWNLOAD
What's Hot

อีซูซุตอกย้ำคอนเซปต์  “MY NEW ID..MY NEW ISUZU D-MAX”ตัวตนใหม่ที่เป็นคุณ นำยนตรกรรมใหม่ล่าสุดร่วมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38”

ธันวาคม 1, 2021

อีซูซุ จับมือ Lazada เปิดออนไลน์สโตร์ ในรูปแบบ “ISUZU FLAGSHIP STORE” เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุคออนไลน์ พร้อมมอบเซอร์ไพรส์สุดยิ่งใหญ่ใน Lazada 11.11 Our Biggest One-Day Sale

พฤศจิกายน 6, 2021

อีซูซุได้รับรางวัลเกียรติยศ “No.1 Brand Thailand 2020-2021” แบรนด์ยอดนิยมอันดับ1 ประเภทรถปิกอัพ

ตุลาคม 1, 2021
Facebook Twitter Instagram
คู่หูเดินทาง
  • หน้าแรก
  • พาเที่ยว
  • พักแรม
  • พาชิม
  • คู่หูดูดวง
  • LifeStlyle
    • มุมสุขภาพ
    • รอบรู้รอบโลก
    • เคล็ดลับความงาม
  • ยานยนต์
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา
  • DOWNLOAD
คู่หูเดินทาง
Home»พาเที่ยว»สัมผัสวิถีชีวิตช้างอย่างใกล้ชิด ที่ ‘ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย’ จ.ลำปาง
พาเที่ยว

สัมผัสวิถีชีวิตช้างอย่างใกล้ชิด ที่ ‘ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย’ จ.ลำปาง

คู่หูเดินทางBy คู่หูเดินทางกุมภาพันธ์ 20, 2019ไม่มีความเห็น3 Mins Read
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
Share
Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

“ช้าง” เป็นสัตว์บกที่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวใหญ่ที่สุดในโลก ความใหญ่โตของร่างกายอาจทำให้บางคนกลัว ไม่กล้าเข้าใกล้ แต่ถ้าได้เรียนรู้และสัมผัสถึงวิถีชีวิตที่แท้จริงของเหล่าบรรดาช้างพวกนี้แล้ว เราขอบอกเลยว่า…ไม่รักไม่ได้แล้ว!
คู่หูเดินทางฉบับนี้จะพาคุณมาทำความรู้จักและสัมผัสวิถีชีวิตช้างอย่างใกล้ชิด ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 11 สายลำปาง – ลำพูน ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 28 ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ถ้ามาจากลำปางมุ่งหน้าขึ้นไปเชียงใหม่ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยจะอยู่ด้านขวามือ สามารถเลี้ยวรถเข้าไปด้านในได้เลย
การเดินทางมาเที่ยวของเราครั้งนี้ตั้งใจมาพักค้างคืนที่ศูนย์ฯ เพราะที่นี่เค้าก็มีบริการห้องพัก 3 แบบ 3 สไตล์ จะเลือกเป็นแบบโฮมสเตย์ รีสอร์ท หรืออาคารที่พักก็ได้ สถานที่สะอาด บรรยากาศร่มรื่น ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของขุนเขาโอบล้อม เงียบสงบ เหมาะแก่การมาพักผ่อนแบบไม่เร่งรีบ หรือถ้าใครสนใจอยากฝึกเป็นควาญช้างที่นี่ก็มีโรงเรียนฝึกช้างและควาญช้างด้วยนะ
เราเลือกที่พักแบบโฮมสเตย์ เพราะจุดนี้จะมีช้างเดินผ่านในตอนเช้า เวลาที่ควาญช้างไปรับช้างออกจากป่า และใกล้กับลานกิจกรรมต่างๆ เพื่อจะได้เห็นถึงวิถีชีวิตของช้างและควาญช้างตั้งแต่เช้าจรดบ่าย พาไปชมกันแบบเอ็กซ์คลูซีฟทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ และอำนวยความสะดวกในการถ่ายทำอย่างใกล้ชิด
ปกติช้างทุกตัวในศูนย์ฯ เมื่อเสร็จการแสดงหรือกิจกรรมต่างๆ แล้ว เวลาประมาณบ่ายสามโมงครึ่ง ควาญช้างก็จะนำช้างส่งกลับบ้าน คือการพาช้างไปผูกไว้ในป่า ซึ่งเป็นที่นอนของช้าง โดยผูกไว้ไม่ห่างกันมากเพื่อให้ช้างสามารถมองเห็นหรือพูดคุยกันได้ (ช้างก็ต้องมีเพื่อนนะ) แต่เป็นระยะที่โซ่คล้องขาช้างจะตึงพอดี ไม่สามารถเดินไปถึงตัวได้ และถ้าช้างพลายตัวไหนมีงางอกออกมาเป็นที่หน้าล่อตาล่อใจของโจร ควาญช้างก็จะนำช้างเชือกนั้นมาผูกไว้ใกล้บ้านของควาญ เพื่อจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด ช้างจะนอนหลับวันละ 4 ชั่วโมง ประมาณห้าทุ่มถึงตีสาม โดยในบริเวณที่ช้างนอนจะมีแนวป้องกันไฟป่าพร้อม เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย
ช้างนั้นมีอายุขัยได้ถึง 100 ปี แต่ในปัจจุบันอายุเฉลี่ยของช้างอยู่ที่ 70 – 80 ปี ช้างที่โตเต็มวัยอายุประมาณ 25 – 35 ปี มีน้ำหนักเกือบ 3,000 กิโลกรัม ช้างจะกินอาหารในปริมาณ 10% ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 250 – 300 กิโลกรัมต่อวัน อาหารที่ช้างกินก็จะเป็น กล้วย อ้อย ข้าวโพด หญ้าบาน่า หญ้าเนียเปีย หญ้าแพงโกล่า และอาหารเม็ดสำหรับช้าง ซึ่งช้างที่อยู่ในศูนย์ฯ ทุกตัว จะมีฝ่ายโภชนาการอาหารช้างคอยดูแลและควบคุมปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป ส่วนโรคที่มักพบในช้างบ่อยๆ ก็คือ ท้องอืด ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย และโรคเท้าอักเสบ เนื่องจากช้างชอบเล่นน้ำ และยืนอยู่ในที่ชื้นแฉะ บางครั้งอาจเดินไปเหยียบโดนเสี้ยนหนามตำเท้ามา ก็จะเกิดเป็นแผลอักเสบและติดเชื้อได้ อาการที่เกิดขึ้นต่างๆ เหล่านี้ ควาญช้างจะต้องเป็นคนคอยตรวจตราและสังเกตเสมอในทุกๆ เช้าที่ไปรับช้างออกจากป่า ตั้งแต่มูลช้างที่ถ่ายออกมาว่าแข็งหรือเหลวไปไหม มีอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อยหรือเปล่า และต้องตรวจเช็คเท้าทุกวันว่ามีบาดแผลเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าพบอาการเหล่านี้ ควาญช้างต้องรีบพาไปรักษาที่โรงพยาบาลช้างโดยด่วน และนั่งเฝ้าคอยดูอาการอย่างใกล้ชิด เพราะช้างจะเชื่อฟังคำสั่งของควาญช้างที่ดูแลเท่านั้น เหมือนเราไปเฝ้าญาติที่โรงพยาบาลอย่างไงอย่างงั้น นี่แหละคือตัวอย่างความผูกพันที่ช้างและควาญช้างมีให้ต่อกัน

เราเริ่มทัวร์สำรวจกิจกรรมประจำวันของช้างกันตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า โดยทางศูนย์ฯ อนุญาตให้เราเข้าไปรับช้างออกจากป่ากับพี่เดช ควาญผู้ดูแลช้างพังวังเจ้า (ช้างเพศเมีย เรียกว่า พัง ช้างเพศผู้มีงา เรียกว่า พลาย ช้างเพศผู้ไม่มีงา เรียกว่า สีดอ) ระหว่างทางเดินขึ้นไปก็จะมีเซอร์ไพรส์เล็กๆ น้อยๆ อาจเจอช้างเชือกอื่นๆ บ้าง แต่ไม่ต้องตกใจกลัวไป เพราะช้างทุกเชือกจะมีควาญช้างดูแล เมื่อเดินขึ้นมาถึงจุดที่ผูกพังวังเจ้าไว้ พี่เดชก็จะทำความสะอาดสถานที่ โดยการโกยมูลช้างออก ปัดกวาดให้พื้นที่เรียบโล่งสะอาดเหมือนเดิม ระหว่างที่ดูพี่เดชทำงาน เราก็ให้กล้วยพังวังเจ้ากินเพื่อสร้างความคุ้นเคย เมื่อทำความสะอาดพื้นที่เรียบร้อยแล้ว พี่เดชก็จะบอกให้พังวังเจ้าย่อตัวลงเพื่อกวาดเศษดินที่ติดอยู่ตามหัวและลำตัวออก แล้วตรวจดูเท้าทั้งสี่ข้างว่ามีบาดแผลหรือไม่ จากนั้นก็จะปลดโซ่ที่คล้องขาพังวังเจ้าออกแล้วพาเดินออกจากป่าเพื่อไปอาบน้ำที่อ่างน้ำธรรมชาติบริเวณด้านหน้าโรงช้าง ใช้เวลาเดินออกไปประมาณครึ่งชั่วโมงนิดๆ
ช้างแต่ละเชือกจะทยอยเดินออกมาจากป่าเรื่อยๆ ผ่านหน้าโฮมสเตย์แล้วเดินลงไปอาบน้ำที่อ่างอาบน้ำด้านหน้า เสร็จแล้วก็เข้าโรงช้าง ควาญช้างจะนำอาหารมาให้กินและดูแลความสะอาดอีกครั้ง ในเวลาประมาณ 8 โมงเช้าของทุกวัน ควาญช้างจะต้องพาช้างไปออกกำลังกายบริเวณสนามหญ้าด้านหน้า ซึ่งจะมีท่าบังคับหันซ้าย หันขวา ย่อตัว ยกเท้า ฯลฯ โดยมีผู้นำบอกให้ทำท่าต่างๆ (เหมือนเราไปเต้นแอโรบิกตามสวนสาธารณะนี่แหละ แต่ช้างตัวใหญ่ทำได้ไม่กี่ท่า ดูแล้วก็น่ารักมากๆ) เสร็จแล้วก็จะเดินจับหางกลับมาที่โรงช้างเพื่อรอปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละวัน โดยช้างที่อยู่จุดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นช้างแท็กซี่ เพราะมีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรง

จุดบริการนั่งช้างแท็กซี่ชมธรรมชาติ : เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 – 15.30 น. โดยมีให้เลือก 2 แบบ คือระยะทางใกล้ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ราคาเที่ยวละ 100 บาท และระยะทางไกลขึ้นมาอีกนิด มีเดินผ่านธารน้ำและขึ้นทางลาดชันบ้าง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ราคาเที่ยวละ 500 บาท สนุกสุดคุ้ม!

จากจุดนี้เจ้าหน้าที่พาเราไปดูความพร้อมหลังเวทีก่อนการแสดงบริเวณลานช้างรอบแรกจะเริ่มขึ้นในเวลา 10 โมงเช้า ช้างโชว์ก็ต้องออกกำลังกายเหมือนกันนะ ไม่มีข้อยกเว้น (แต่ถ้าป่วยก็งดได้) ช้างที่นำมาแสดงบริเวณลานช้าง จะต้องเป็นช้างที่สนิทกัน อยู่กันเป็นฝูง เพราะเวลาสั่งให้ทำอะไรก็จะทำไปในทิศทางเดียวกัน หากมีตัวไหนดื้อ ไม่เชื่อฟังคำสั่งก็จะให้ไปเป็นช้างแท็กซี่แทน ช้างโชว์ส่วนใหญ่จะเป็นช้างเด็ก มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จนเกือบ 40 ปี ถ้าอายุมากก็จะให้ไปเป็นช้างแท็กซี่ และปลดเกษียณตอนอายุประมาณ 60 ปี เหมือนคนนะ (ใน 1 ชั่วโมงช้างจะเดินได้ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร และใน 1 วัน ช้างควรเดินให้ได้วันละ 20 กิโลฯ เพื่อเป็นการออกกำลังกาย และทำให้ช้างไม่เครียด การใช้งวงหยิบจับสิ่งของก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกายเช่นกัน)
การเข้ามาดูด้านหลังเวทีทำให้เราได้เห็นถึงความผูกพันใกล้ชิดของช้างและควาญช้างมาก มีลุงควาญท่านหนึ่งบอกกับเราว่า เล่นกับช้างและดูแลช้างมากกว่าเล่นกับหลานชายของตัวเองซะอีก ช้างบางเชือกพอเดินผ่านอาหารที่วางไว้ของเชือกอื่นยังแอบเอางวงหยิบมากินเลย ควาญช้างต้องคอยห้าม บางเชือกก็แกล้งควาญตัวเอง หลอกให้เดินมาใกล้ๆ แล้วเปิดน้ำก๊อกใส่ให้ควาญเปียก แถมมีเสียงหัวเราะสะใจด้วยนะ… ช้างเด็กก็เหมือนเด็ก มีความขี้เล่นซุกซนเป็นธรรมดา แต่ทุกอย่างล้วนมากจากธรรมชาติใสๆ ไร้สิ่งเจอปน… น่ารักอะ
การแสดงช้างในแต่ละรอบจะเน้นแนววิถีชีวิตของช้าง การลากซุง การใช้งวงหยิบจับสิ่งของทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ใช้งวงดันท่อนซุง โยนลูกบอล วาดรูป หยิบหมวกใส่ให้ควาญ เคาะระฆัง การเดินเรียงแถว ฯลฯ ซึ่งการแสดงแต่ละชุดจะเน้นที่ความสามารถในด้านต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความฉลาด แสนรู้ น่ารัก ที่อยู่ในร่างอันใหญ่โตของช้าง ใช้เวลาแสดงประมาณ 40 นาที เสร็จแล้วก็จะให้ช้างมายืนเรียงแถวชูงวงอยู่หน้าเวทีเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ซื้ออาหารเลี้ยงช้างและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
การแสดงช้าง : มีวันละ 3 รอบ เวลา 10.00 น. 11.00 น. และ 13.30 น. และมีการแสดงช้างอาบน้ำวันละ 2 รอบ คือ ช่วงเช้า 09.45 น. และช่วงบ่าย 13.15 น. จากนั้นจะมีขบวนพาเหรดช้างนำเข้าสู่ลานจัดแสดงต่อไป
ค่าเข้าชม : คนไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท / ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 170 บาท เด็ก 110 บาท
ค่าบริการรถซัตเตอร์บัส : ผู้ใหญ่ 25 บาท เด็ก 10 บาท (ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวนำรถยนต์ส่วนตัวเข้าไปด้านใน)

บริเวณด้านหน้าใกล้กับจุดจำหน่ายบัตรและลานจอดรด จะเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านคชบาลศาสตร์ อาคารกัลยาณิวัฒนาการุณย์ ภายในอาคารมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับช้างตั้งแต่สมัยอดีตกาล ความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ซึ่งช้างนอกจากจะเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของชาติไทยแล้ว เรายังใช้ประโยชน์จากช้างในด้านต่างๆ อีก เช่น การขี่ช้างออกศึกสงครามในครั้งอดีต การคมนาคมขนส่ง รวมทั้งในอุตสาหกรรมป่าไม้ด้วย
การได้เข้าชมนิทรรศการจะทำให้เราได้รู้ถึงความเป็นมาเป็นไปของสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ช้างไทย และก้าวต่อไปเพื่อให้ช้างไทยอยู่คู่กับประเทศไทยเราตลอดไป

การมาที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย นอกจากจะมาเที่ยวชมการแสดงของช้างและศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของช้างแล้ว เรายังสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือดูแลช้างไทยได้ เพราะที่นี่เป็นที่ตั้งของ “โรงพยาบาลช้าง” รับดูแลรักษาช้างแก่ ช้างเจ็บป่วย และช้างที่ประสบอุบัติเหตุ ทั่วประเทศฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และรับบริจาคช้างที่ไม่มีใครดูแล สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 054 829 331
และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางของช้างป่วยในพื้นที่ภาคใต้ จึงได้มีจัดตั้งโรงพยาบาลช้าง ที่อำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ ขึ้นอีกหนึ่งแห่ง สอบถามรายละเอียด โทร. 075 656 923

การเดินทาง
• รถโดยสารสาธารณะ
มีรถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ออกจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ทุกวัน สอบถามรายละเอียดและตารางเดินรถได้ที่ Call Center 1490 เรียก บขส. หรือ www.transport.co.th
• รถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรีและนครสวรรค์ จากนั้นเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 117 มุ่งหน้าสู่พิษณุโลกและทางหลวงหมายเลข 11 มุ่งหน้าสู่ถนนสายลำปาง – ลำพูน ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จะอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 28 ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 24 กิโลเมตร ด้านขวามือ
………………………………………………………………………………………………….
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
ติดต่อสอบถามและสำรองที่พักได้ที่
โทร. 054 829 333, 054 829 322
www.thailandelephant.org/
www.facebook.com/elephantcenter

 

 6,917 total views,  5 views today

Comments

Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
คู่หูเดินทาง

Related Posts

อีซูซุตอกย้ำคอนเซปต์  “MY NEW ID..MY NEW ISUZU D-MAX”ตัวตนใหม่ที่เป็นคุณ นำยนตรกรรมใหม่ล่าสุดร่วมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38”

ธันวาคม 1, 2021

เที่ยวชายหาดอำเภอบางสะพานน้อย “ลึกแต่ไม่ลับ”

กุมภาพันธ์ 17, 2021

ชมทะเลหมอกสุดอลังที่ “ดอยตาปัง” จ.ชุมพร

กุมภาพันธ์ 17, 2021

Comments are closed.

Don't Miss
ข่าวประชาสัมพันธ์

อีซูซุตอกย้ำคอนเซปต์  “MY NEW ID..MY NEW ISUZU D-MAX”ตัวตนใหม่ที่เป็นคุณ นำยนตรกรรมใหม่ล่าสุดร่วมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38”

By คู่หูเดินทางธันวาคม 1, 20210

อีซูซุร่วมงาน “…

อีซูซุ จับมือ Lazada เปิดออนไลน์สโตร์ ในรูปแบบ “ISUZU FLAGSHIP STORE” เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุคออนไลน์ พร้อมมอบเซอร์ไพรส์สุดยิ่งใหญ่ใน Lazada 11.11 Our Biggest One-Day Sale

พฤศจิกายน 6, 2021

อีซูซุได้รับรางวัลเกียรติยศ “No.1 Brand Thailand 2020-2021” แบรนด์ยอดนิยมอันดับ1 ประเภทรถปิกอัพ

ตุลาคม 1, 2021

“โอมาคาเสะ คาร์” โดยกลุ่มตรีเพชร เดินหน้าผุดสาขาใหม่ พร้อมฉลอง 1,000 คัน

ตุลาคม 1, 2021
Don't Miss

อีซูซุตอกย้ำคอนเซปต์  “MY NEW ID..MY NEW ISUZU D-MAX”ตัวตนใหม่ที่เป็นคุณ นำยนตรกรรมใหม่ล่าสุดร่วมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38”

อีซูซุ จับมือ Lazada เปิดออนไลน์สโตร์ ในรูปแบบ “ISUZU FLAGSHIP STORE” เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุคออนไลน์ พร้อมมอบเซอร์ไพรส์สุดยิ่งใหญ่ใน Lazada 11.11 Our Biggest One-Day Sale

อีซูซุได้รับรางวัลเกียรติยศ “No.1 Brand Thailand 2020-2021” แบรนด์ยอดนิยมอันดับ1 ประเภทรถปิกอัพ

“โอมาคาเสะ คาร์” โดยกลุ่มตรีเพชร เดินหน้าผุดสาขาใหม่ พร้อมฉลอง 1,000 คัน

About

คู่หูเดินทาง

ภาพและบทความมีลิขสิทธิ์ หากต้องการนำไปเผยแพร่
หรือทำซ้ำ ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
จาก บริษัท เอ็ม เจ มีเดีย จำกัด ก่อนทุกครั้ง

โทรศัพท์ : 0 2171 1535
โทรสาร : 0 2171 1536
ติดต่อโฆษณา : 09-2265-2442
e-mail : mjmedia2008@yahoo.com

Find us on Facebook

อีซูซุตอกย้ำคอนเซปต์  “MY NEW ID..MY NEW ISUZU D-MAX”ตัวตนใหม่ที่เป็นคุณ นำยนตรกรรมใหม่ล่าสุดร่วมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38”

ธันวาคม 1, 2021

อีซูซุ จับมือ Lazada เปิดออนไลน์สโตร์ ในรูปแบบ “ISUZU FLAGSHIP STORE” เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุคออนไลน์ พร้อมมอบเซอร์ไพรส์สุดยิ่งใหญ่ใน Lazada 11.11 Our Biggest One-Day Sale

พฤศจิกายน 6, 2021

อีซูซุได้รับรางวัลเกียรติยศ “No.1 Brand Thailand 2020-2021” แบรนด์ยอดนิยมอันดับ1 ประเภทรถปิกอัพ

ตุลาคม 1, 2021

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

Go to mobile version