คู่หูเดินทางคู่หูเดินทาง
  • หน้าแรก
  • พาเที่ยว
  • พักแรม
  • พาชิม
  • คู่หูดูดวง
  • LifeStlyle
    • มุมสุขภาพ
    • รอบรู้รอบโลก
    • เคล็ดลับความงาม
  • ยานยนต์
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา
What's Hot

อีซูซุตอกย้ำคอนเซปต์  “MY NEW ID..MY NEW ISUZU D-MAX”ตัวตนใหม่ที่เป็นคุณ นำยนตรกรรมใหม่ล่าสุดร่วมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38”

ธันวาคม 1, 2021

อีซูซุ จับมือ Lazada เปิดออนไลน์สโตร์ ในรูปแบบ “ISUZU FLAGSHIP STORE” เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุคออนไลน์ พร้อมมอบเซอร์ไพรส์สุดยิ่งใหญ่ใน Lazada 11.11 Our Biggest One-Day Sale

พฤศจิกายน 6, 2021

อีซูซุได้รับรางวัลเกียรติยศ “No.1 Brand Thailand 2020-2021” แบรนด์ยอดนิยมอันดับ1 ประเภทรถปิกอัพ

ตุลาคม 1, 2021
Facebook Twitter Instagram
Facebook Twitter Instagram Vimeo
คู่หูเดินทาง คู่หูเดินทาง
Subscribe Login
  • หน้าแรก
  • พาเที่ยว
  • พักแรม
  • พาชิม
  • คู่หูดูดวง
  • LifeStlyle
    • มุมสุขภาพ
    • รอบรู้รอบโลก
    • เคล็ดลับความงาม
  • ยานยนต์
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา
คู่หูเดินทางคู่หูเดินทาง
Home»LifeStlyle»มุมสุขภาพ»สำรวจ “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” ที่อาจทำลายสุขภาพลงไปช้า ๆ
มุมสุขภาพ

สำรวจ “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” ที่อาจทำลายสุขภาพลงไปช้า ๆ

คู่หูเดินทางBy คู่หูเดินทางสิงหาคม 25, 2021ไม่มีความเห็น1 Min Read
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
Share
Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

ช่วงนี้หลายคนคง Work from Home (WFH) กันยาวไป ๆ ทำให้เวลาอยู่บ้านไม่ค่อยได้ขยับตัวกันสักเท่าไหร่นัก ซึ่งการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน นอกจากจะเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังก่อให้เกิด “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” โดยที่เราไม่รู้ตัว 

พฤติกรรมเนือยนิ่ง คืออะไร

พฤติกรรมเนือยนิ่ง” หรือ Sedentary Behavior หมายถึงการนั่งหรือนอนขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ใช้พลังงานเพียง 1.5 MET (หน่วยที่ใช้ในการประมาณค่าของจำนวนออกซิเจนที่ถูกร่างกายใช้) ดูไปก็ค่อนข้างสอดคล้องกับสังคมในปัจจุบันไม่น้อย เพราะผู้คนส่วนใหญ่ต่างคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งเล่นโทรศัพท์เฉย ๆ ก็สามารถสั่งซื้ออาหาร หรือข้าวของเครื่องใช้มาส่งถึงหน้าบ้าน โดยไม่ต้องขยับร่างกายให้เสียพลังงานแม้แต่ MET เดียว

แต่ความสะดวกสบายเหล่านี้กำลังบั่นทอนสุขภาพกายเราอย่างช้า ๆ และพฤติกรรมดังกล่าวก็เข้าข่าย “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” แบบเต็ม ๆ อีกทั้งยังมีผลจากวิจัยระบุว่า พฤติกรรมเนือยนิ่ง เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ จากการสำรวจผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป พฤติกรรมดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และภาวะของเมตาบอลิกซินโดรม หรือโรคอ้วนลงพุงนั่นเอง ส่วนเด็กที่มีอายุไม่เกิน 8 ปี เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ปัญหาความดัน ระดับคอเลสเตอรอล ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พฤติกรรมการเข้าสังคม และนำไปสู่การมีปัญหาด้านการเรียน เป็นต้น

วิถีสโลว์ไลฟ์เสี่ยงต่อพฤติกรรมเนือยนิ่งหรือไม่?

การใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์นั้นอาจจะดูคล้ายกันมากกับพฤติกรรมเนือยนิ่ง แต่ในความคล้ายย่อมมีความแตกต่าง พฤติกรรมเนือยนิ่งคือการเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุดหรือแทบไม่เคลื่อนไหวเลย ขณะที่การใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ หมายถึงการใช้ชีวิตในจังหวะที่ช้าลง สวนทางกับสภาพสังคมที่ต่างเร่งรีบกันทำเวลาในปัจจุบัน ดังนั้น หากคุณกำลังใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์อยู่ก็ไม่ต้องกังวล เพราะไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจหนักเท่าการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งอย่างแน่นอน

พฤติกรรมแบบไหนที่เอื้อต่อการเนือยนิ่ง

+ ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

+ การนั่งประชุมเป็นเวลานาน

+ การอยู่ในรถท่ามกลางจราจรที่ติดขัด

+ การนั่งหรือนอนดูทีวี

+ การนั่งหรือนอนเล่นสมาร์ทโฟน

+ การนั่งหรือนอนอ่านหนังสือ

WFH อย่างไร ไม่ให้ “เนือยนิ่ง” 

+ หากทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ลองละสายตาจากหน้าจอบ้าง อาจจะลุกขึ้นไปเข้าห้องน้ำ ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายก่อนจะนั่งทำงานต่ออีก 1 ชั่วโมง ควรจะลุกขึ้นทุกชั่วโมงเพื่อผ่อนคลายสายตาและกล้ามเนื้อ

+ หากละสายตาจากหน้าจอไม่ได้จริง ๆ อาจเปลี่ยนมายืนทำงาน เพื่อให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อีกทั้งยังมีงานวิจัยระบุว่า การยืนทำงานช่วยลดความเหนื่อยล้าของพนักงาน และยังทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

+ เดินและยืนให้มากขึ้น ระหว่างการทำงาน หากเช็กข้อความหรืออีเมล ลองเปลี่ยนจากการนั่งอ่านมาเป็นยืนอ่านข้อความ หรือจะเดินไปเดินมาระหว่างอ่านหรือทบทวนอีเมล เพื่อลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ แน่นอนว่าการใช้บันไดแทนลิฟต์ก็เป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกช่วยลดพฤติกรรมเนือยนิ่งได้ดีเช่นกัน

อย่างไรก็ตามพฤติกรรมเนือยนิ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะคนในวัยทำงานหรือวัยรุ่นเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้เช่นกัน จากรายงานของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) พบว่า 10-20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีมีภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะผู้หญิง และยิ่งมีอายุมากความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

แม้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้การออกมาพบปะพูดคุยกัน ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่อย่าลืมว่าเรามีเทคโนโลยี ซึ่งเป็นดาบสองคมที่มีทั้งข้อดี และอาจเป็นตัวร้ายที่ทำให้หลายคนมีพฤติกรรมเนือยนิ่งโดยไม่รู้ตัว 

หากลองเปลี่ยนจากการไถหน้าฟีดไปมา เป็นการกดโทรออกไปหาคนในครอบครัว หรืออาจจะวิดีโอคอลเพื่อส่งต่อรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้คนไกลบ้านได้รู้สึกอบอุ่นใจ เทคโนโลยีตัวร้ายก็จะกลายมาเป็นผู้ประสานระยะห่างระหว่างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวได้ไม่ยาก

Photo:pexels.com

 915 total views,  2 views today

Comments

Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
Previous Articleคุมน้ำหนักสไตล์ไทย ๆ ด้วย “เม็ดแมงลัก”
Next Article ระวัง! สารก่อมะเร็งในเทียนหอมระเหย
คู่หูเดินทาง

Related Posts

รู้ยัง! ดูรูปสัตว์น่ารัก ๆ ช่วยเพิ่มสมาธิ WFH ได้

กันยายน 16, 2021

ได้เวลาเช็กสายตายาว…รึยัง?

กันยายน 16, 2021

กินยาแก้ “ปวดหัว” แค่ไหนถึง “เอาอยู่”

สิงหาคม 25, 2021

ขอบขนมปัง อย่าทิ้ง กินป้องกันมะเร็งได้!

สิงหาคม 25, 2021

Comments are closed.

Don't Miss
ข่าวประชาสัมพันธ์

อีซูซุตอกย้ำคอนเซปต์  “MY NEW ID..MY NEW ISUZU D-MAX”ตัวตนใหม่ที่เป็นคุณ นำยนตรกรรมใหม่ล่าสุดร่วมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38”

By คู่หูเดินทางธันวาคม 1, 20210

อีซูซุร่วมงาน “…

อีซูซุ จับมือ Lazada เปิดออนไลน์สโตร์ ในรูปแบบ “ISUZU FLAGSHIP STORE” เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุคออนไลน์ พร้อมมอบเซอร์ไพรส์สุดยิ่งใหญ่ใน Lazada 11.11 Our Biggest One-Day Sale

พฤศจิกายน 6, 2021

อีซูซุได้รับรางวัลเกียรติยศ “No.1 Brand Thailand 2020-2021” แบรนด์ยอดนิยมอันดับ1 ประเภทรถปิกอัพ

ตุลาคม 1, 2021

“โอมาคาเสะ คาร์” โดยกลุ่มตรีเพชร เดินหน้าผุดสาขาใหม่ พร้อมฉลอง 1,000 คัน

ตุลาคม 1, 2021
About

คู่หูเดินทาง

ภาพและบทความมีลิขสิทธิ์ หากต้องการนำไปเผยแพร่
หรือทำซ้ำ ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
จาก บริษัท เอ็ม เจ มีเดีย จำกัด ก่อนทุกครั้ง

โทรศัพท์ : 0 2171 1535
โทรสาร : 0 2171 1536
ติดต่อโฆษณา : 09-2265-2442
e-mail : mjmedia2008@yahoo.com

Find us on Facebook

อีซูซุตอกย้ำคอนเซปต์  “MY NEW ID..MY NEW ISUZU D-MAX”ตัวตนใหม่ที่เป็นคุณ นำยนตรกรรมใหม่ล่าสุดร่วมงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38”

ธันวาคม 1, 2021

อีซูซุ จับมือ Lazada เปิดออนไลน์สโตร์ ในรูปแบบ “ISUZU FLAGSHIP STORE” เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุคออนไลน์ พร้อมมอบเซอร์ไพรส์สุดยิ่งใหญ่ใน Lazada 11.11 Our Biggest One-Day Sale

พฤศจิกายน 6, 2021

อีซูซุได้รับรางวัลเกียรติยศ “No.1 Brand Thailand 2020-2021” แบรนด์ยอดนิยมอันดับ1 ประเภทรถปิกอัพ

ตุลาคม 1, 2021
Facebook Twitter Instagram Pinterest
  • หน้าแรก
  • พาเที่ยว
  • พักแรม
  • พาชิม
  • คู่หูดูดวง
  • LifeStlyle
    • มุมสุขภาพ
    • รอบรู้รอบโลก
    • เคล็ดลับความงาม
  • ยานยนต์
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • ติดต่อเรา
© 2023 ThemeSphere. Designed by ThemeSphere.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

Go to mobile version

Sign In or Register

Welcome Back!

Login to your account below.

Lost password?