มุมสุขภาพ
 
 

+ ออกกำลังกายกลางแจ้งเพิ่มความสดชื่น

 
 

การออกกำลังกายในร่มอย่าง ฟิตเนส ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีแล้ว  แต่จะดีกว่าไหมหากเราจะเปลี่ยนนิสัยการออกกำลังกายและเล่นกีฬาจากในห้องอัน แสนอุดอู้และจำเจ เป็นการออกกำลังกายกลางแจ้ง ล่าสุดมีหลายผลวิจัยชี้ว่า การออกกำลังกายกลางแจ้งจะช่วยทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดความรู้สึกดีและความคิดด้านบวกขณะที่ได้สร้างพลังงาน ใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็จะลดความตึงเครียด ความเครียด และความซึมเศร้าหายไปได้อีกด้วย
ข้อแนะนำสำหรับการออกกำลังกายกลางแจ้ง

  1. การเริ่มออกวิ่งกลางแจ้ง ควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อทำให้ข้อต่อและไขข้อต่างๆ ได้รับการเปลี่ยนแปลงนิสัยการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง
  2. เมื่อเริ่มออกวิ่ง การใช้ความเร็วที่ช้ากว่าการวิ่งในลู่วิ่ง เพราะการวิ่งบนถนนจริงนั้นอาจมีแรงลมต้าน และพื้นผิวของถนนที่คาดเดาไม่ได้ ทำให้อาจเกิดอาการบาดเจ็บหากวิ่งด้วยความเร็วเหมือนบนลู่วิ่
  3. ควรเลือกวิ่งบนสนามหญ้า, ทางดิน หรือพื้นผิวที่มีความชุ่มชื้นเล็กน้อยเพื่อทำให้ข้อเข่า สะโพก และข้อเท้าไม่ได้รับแรงกระแทกจากการวิ่งจนเกินไป  
  4. พยายามหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในตอนกลางคืน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมใส่เสื้อผ้าสีสดหรือที่มีชิ้นส่วนสะท้อนแสง ควรวิ่งสวนทางจราจร เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ
การเลือกใช้ App ในโทรศัพท์มือถือ ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้การเปลี่ยนการออกกำลังกายในร่มเป็นการออกกำลังกายกลางแจ้งราบรื่นขึ้น เช่น แอพ RunKeeper Pro ที่มีทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ที่จะติดตามเส้นทางที่คุณเดินหรือวิ่ง โดยเก็บสถิติทั้งเรื่องระยะทางที่ใช้ เวลาที่ใช้ แคลลอรี่ที่เสียไป และจังหวะของหัวใจได้ หรือ แอพ AllSport GPS ที่มีให้ใช้ทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS, Android และ Blackberry ก็จะช่วยเก็บข้อมูลเส้นทางที่คุณใช้ในการออกกำลังกายเช่นกัน

 

 

 
 

+ เกลือไอโอดีนกับสารกัมมันตภาพรังสี

 
 

เมื่อเกิดเหตุระเบิดนิวเคลียร์ หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด หรือมีสารกัมมันตรังสีรั่วไหล สิ่งที่ผู้คนกลัวกันมาก คือ การที่สารกัมมันตรังสีทำให้เราตายได้ การได้รับสารกัมมันตรังสีปริมาณมากๆ อยู่ใกล้กับแหล่งระเบิดมากๆ จะทำให้เซลล์ของร่างกายหยุดเจริญเติบโต มีแผลตามร่างกาย เม็ดเลือดต่ำทั้งเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ร่างกายอ่อนเพลีย และเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต ถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน แต่หากปริมาณรังสีที่ได้รับเป็นจำนวนน้อย อยู่ห่างจากแหล่งที่เกิดระเบิด ปริมาณรังสีนั้นอาจไม่มากพอที่จะทำอันตรายโดยตรงกับร่างกายของเรา แต่อาจทำให้เซลล์บางส่วนผิดปกติ และเกิดเป็นมะเร็งขึ้นภายหลัง ซึ่งหนึ่งในเซลล์ของร่างกาย ที่ไวต่อสารกัมมันตรังสีมากที่สุด คือ ไทรอยด์ ดังนั้น หากต่อมไทรอยด์ของร่างกายได้รับสารรังสีเกินขนาด อาจทำให้เกิดมะเร็งขึ้นในอนาคตได้ อาจจะ 10 - 20 ปีต่อมา ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ
สารกัมมันตรังสี ที่ตกค้างหลังการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจลอยอยู่ในอากาศ และตกลงมาพร้อมกับฝนได้ ดังนั้น การถูกฝนในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งระเบิดจึงอาจได้รับปริมาณรังสีจากการระเบิดได้ แต่อย่างไรก็ดี จะเกิดเฉพาะรอบๆ แหล่งระเบิดเท่านั้น
แล้วเกลือไอโอดีนเม็ด ป้องกันมะเร็งไทรอยด์ได้อย่างไร ในผู้ที่ได้รับสารกัมมันตรังสีต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่จะดูดจับไอโอดีนที่เข้ามาในร่างกายได้เร็วที่สุด และมากที่สุดร้อยละ 99 ของไอโอดีนที่ร่างกายรับเข้าไปจะถูกจับที่ต่อมไทรอยด์ ดังนั้น หากน้ำดื่ม ปลา อาหาร ที่อยู่ในบริเวณที่มีการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจมีสารกัมมันตรังสีในปริมาณสูง และไอโอดีนเป็นสารที่จับสารกัมมันตรังสีได้เร็วที่สุด ดังนั้น หากรับประทานอาหารจากแหล่งดังกล่าว ต่อมไทรอยด์จะรับสารไอโอดีนที่มีกัมมันตรังสีเข้าไปด้วย จึงเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ธรรมชาติได้ช่วยร่างกายเราไว้อย่างหนึ่งคือ หากต่อมไทรอยด์ได้รับไอโอดีนจนอิ่มแล้ว จะไม่รับไอโอดีนเพิ่มเข้าไปอีก หรือรับแต่เพียงเล็กน้อย ดังนั้น ในกลุ่มเสี่ยง หากกินไอโอดีนเม็ดเข้าไปในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้ต่อมไทรอยด์อิ่ม และดูดจับไอโอดีนที่มีสารกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนกับอาหารและน้ำได้น้อยลง เราจึงเสี่ยงลดลง การกินไอโอดีนเม็ดจึงจำเป็นสำหรับคนที่อยู่ในบริเวณกับที่เกิดเหตุเท่านั้น สำหรับคนปกติไม่แนะนำเพราะหากร่างกายรับไอโอดีนเข้าไปในปริมาณมากเกิน ระยะแรกจะทำให้ต่อมไทรอยด์หยุดทำงานชั่วคราว เกิดอาการอ่อนเพลีย แต่หลังจากนั้นประมาณ 3 - 5 วัน ต่อมไทรอยด์จะทำให้ไอโอดีนที่กินเข้าไปสร้างเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งหากกินไอโอดีนเม็ดเข้าไปมาก จะทำให้เกิดภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน (hyperthyroid) หรือ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งเป็นโรคอย่างหนึ่ง
แต่ต้องการการรักษา หากไม่รักษา ร่างกายจะอ่อนเพลีย เหนื่อย ผอมลง ดังนั้น คนทั่วไปจึงห้ามกินไอโอดีนเม็ด ถ้าไม่ใช่คนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ใกล้บริเวณที่รับสารกัมมันตรังสี มีโทษต่อร่างกาย

      
 
 

+ ดูทีวีนานไป...เสี่ยงโรคหัวใจ

 
 

ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุขจาก University College London กล่าวว่า ผู้คนส่วนมากนั้น มักจะติดนิสัยที่เมื่อกลับไปถึงบ้านจะเปิดโทรทัศน์และนั่งดูเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ซึ่งการกระทำเช่นนั้นจะส่งผลที่ไม่ดีต่อร่างกายของคนเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในวัยทำงานที่มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันไปกับโต๊ะทำงาน ดูโทรทัศน์ ดู DVD เล่นคอมพิวเตอร์ และเล่นวีดีโอเกมส์ ซึ่งส่วนมากจะไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น หัวใจวาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 125 เลยทีเดียว โดยความเสี่ยงที่ว่านี้ยังไม่ได้นับรวมกับปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายตาเสื่อมสภาพก่อนวัย กล้ามเนื้อตึงเครียด หรือแม้กระทั่งอาการปวดหลังเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว  

 
 


 
 
 

Copyright © นิตยสารคู่หูเดินทาง / MJ Media Company Limited