มุมสุขภาพ
 
 

+ อาการปวดกระดูกจากรูมาตอยด์

 

       รูมาตอยด์นั้นเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่คาดว่าเกิดจากการติดเชื้อและพันธุกรรม พบมากในเพศหญิงวัยกลางคน อาการคือ อ่อนเพลีย ปวดตามข้อ ฝืดขัดข้อเป็นเวลานานในตอนเช้า เมื่อเป็นมากอาจลุกลามไปถึงนัยน์ตา ระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ วิธีรักษาแพทย์จะให้ยาต้านการอักเสบที่ปลอดสารสเตียรอยด์ ในบางกรณีอาจต้องผ่าตัด ฉีดยา และทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารยังมีส่วนสำคัญในการบำบัดรักษาโรคนี้ ขอแนะนำสารอาหารสำคัญๆ ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดไขข้อมาบอกกัน

 
 

- กรดโอเมก้า-3
มีผลต้านการอักเสบในร่างกาย โอเมก้า-3 ที่ได้จากอาหารทะเลมีกรดอีพีเอ (EPA = eicsapentaanoic) และดีเอชเอ ซึ่งลดการอักเสบของไขข้อ ผลวิจัยพบว่าการเพิ่มกรดโอเมก้า-3 ในอาหาร มีผลโดยตรงในการลด ซี รีแอคทีฟโปรตีน ซึ่งกระตุ้นการอักเสบ หาสารนี้ได้จากปลาทะเล (แซลมอน ทูน่า เทร้าส์ แมคเคอเรล) วอลนัท เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง แฟลกซ์สีด น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์สีด และน้ำมันคาโนลา น้ำมันปลา

- สารฟลาโวนอยด์

ช่วยต้านเชื้อไวรัส ต้านการอักเสบ และลดการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไขข้อ เป็นต้น สารฟราโวนอยด์พบในชาเขียว กระเทียม แอ๊ปเปิ้ล เบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลส้ม และหอมหัวใหญ่

 
 

- กรดโฟลิกหรือโฟเลต
หรือวิตามินบี
9 พบมากในตับ และผักสีเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า ส่วนผลไม้ พบมากในส้มและแคนตาลูป มีส่วนช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง

- ซีลีเนียม

ช่วยลดอนุมูลอิสระที่จะทำลายเนื้อเยื่อที่แข็งแรง และช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์ชนิดกลูตาไธโอนเพอร็อกซิเดสที่ต่อสู้กับการอักเสบ

 
 

- วิตามินซี
มีประโยชน์ต่อเนื้อเยื่อภายในข้อและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบได้ในผลไม้ประเภทส้ม พริกไทย สตรอว์เบอร์รี่

 
 

- วิตามินดีและแคลเซียม
ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมให้เพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องกินยาประเภทคอร์ติสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้เนื้อกระดูกและระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ มีผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ น้ำมันตับปลา เนย ครีม ไข่แดง ตับ และอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ผักใบเขียวจัด เช่น บรอคโคลี ปลาซาร์ดีน นมและผลิตภัณฑ์นม เต้าหู้

 
 

 
 
 

Copyright © นิตยสารคู่หูเดินทาง / MJ Media Company Limited